วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติบุคลสำคัญในวงการ IT


ประวัติของบุคคลในวงการ IT

 
 





             บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์

Alan Mathison Turingอลัน มาธิสัน ทัวริง

เกิด วันที่ 23 มิ.ย. 1912 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษเสียชีวิต วันที่ 7 มิ.ย. 1954 ที่เมืองวิล์มสโล อังกฤษทฤษฎีความสามารถคำนวณได้ของคอมพิวเตอร์ (Computability)การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing test), เครื่องจักรทัวริง (universal Turing machine)

ผลงาน :


อลัน ทัวริง (Alan Turing) คิดค้นเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) เครื่องมือในฝันที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ถ้าเพียงแต่เราจะใส่วิธีทำลงไป ซึ่งกลายเป็นต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทัวริงแมชชีนเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราแยก "อุปกรณ์" ออกจาก "ความสามารถของอุปกรณ์" นั้นได้ การทำงานของเครื่องไม่ได้ถูกกำหนดมาล่วงหน้า แต่ขึ้นอยู่กับวิธีทำหรืออัลกอริทึมที่แนบมาด้วย
       เครื่องจักรทัวริงนั้นไม่้ยุ่งยาก ทำงานเป็นเหมือนเครื่องอ่านม้วนกระดาษยาวๆ (หรือเทป) ลองคิดดูว่าเรามีกระดาษเก็บข้อมูลยาวๆ ไม่สิ้นสุด บนกระดาษจะบันทึกเลขสองตัวคือ ศูนย์และหนึ่ง เช่น ...0011011000100... ทัวริงแมชชีนมีหัวอ่านค่าในกระดาษนี้ ที่บอกว่าตอนนี้กำลังอ่านเลขตัวไหนอยู่ตรงไหน และรู้ว่าตอนนี้อยู่ในสถานะใด (ทัวริงแมชชีนมีได้หลายสถานะ แล้วแต่ข้อมูลที่กำลังอ่านอยู่) วิธีทำที่แนบมาด้วยสามารถสั่งให้ทัวริงแมชชีนทำงานได้สี่ประการต่อไปนี้
              1. อ่านเลขตัวติดกันทางซ้าย (เปลี่ยนตำแหน่งปัจจุบัน)
              2. อ่านเลขตัวติดกันทางขวา (เปลี่ยนตำแหน่งปัจจุบัน)
              3. แก้ค่าปัจจุบันที่อ่านอยู่ เช่นจาก 0 เป็น 1 หรือจาก 1 เป็น 0 (เปลี่ยนค่าบนกระดาษ)
              4. เปลี่ยนสถานะ
รูปด้านบนเป็นการใช้เครื่องจักรทัวริงตรวจสอบคำว่าใช่ "aabb" หรือไม่ ไม่น่าเชื่อที่ว่าแค่สั่งให้เครื่องจักรทัวริงเคลื่อนไหวไปๆ มาๆ ลบค่าบ้าง เปลี่ยนสถานะบ้าง จะทำให้เครื่องนี้มีความสามารถมากมาย วิธีทำที่แนบมาเป็นตัวควบคุมการทำงานของทัวริง ถ้าเราแนบคำสั่งให้ทัวริงอ่านเลขตัวติดกันทางขวาไปเรื่อยๆ ทัวริงก็จะไม่มีประโยชน์อะไรนัก แต่ถ้าเราเขียนคำสั่งที่ซับซ้อนขึ้น เครื่องจักรทัวริงก็สามารถเล่นหมากรุกกับเราได้ อลัน ทัวริงถึงกับบอกว่าเครื่องจักรทัวริงสามารถจำลองระบบความคิดของมนุษย์ได้ และนี่คือเครื่องมือมหัศจรรย์ที่อลัน ทัวริงคิดค้น       อลัน ทัวริง เกิดในลอนดอน ปี 1912 บิดาทำงานเป็นข้าราชการอังกฤษที่ต้องประจำในอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มารดาของเขาเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นสภาพแวดล้อมของลูก ดังนั้นชีวิตในวัยเด็กของทัวริงจึงเติบโตในอังกฤษในบ้านเลี้ยงเด็ก โดยที่พ่อแม่มาเยี่ยมเป็นครั้งคราว คาดกันว่าความเดียวดายในวัยเด็กนี้ ทำให้ทัวริงติดใจการทำงานของจิตใจมนุษย์เป็นพิเศษ

       เมื่ออายุสิบสามปี ทัวริงเข้าโรงเรียน Sherbourne ใน Dorset ในสมัยมัธยม ทัวริงสนิทและนับถือรุ่นพี่คนหนึ่ง ชื่อ คริสโตเฟอร์ มอร์คอม (Christopher Morcom)
ซึ่งเสียชีวิตในเวลาต่อมาอย่างกะทันหันด้วยวัณโรค ความสูญเสียนี้ทำให้ทัวริงหมดสิ้นศรัทธาในศาสนาและพระเป็นเจ้า และเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องมีคำอธิบายที่เห็นและจับต้องได้จริง ทัวริงตั้งคำถามว่าจิตใจคนเราทำงานอย่างไร จิตของเพื่อนคนนั้นจะเป็นอย่างไรเมื่อร่างกายจากไปแล้ว เขาเชื่อว่าในเครื่องจักรกลและสมองของมนุษย์นั้นไม่มีจิตวิญญาณอยู่จริง แต่สงสัยว่าความคิด และความมีสติสัมปชัญญะเกิดได้อย่างไร

       อลัน ทัวริงเข้าเรียนที่ King's College ในเคมบริดจ์ เมื่อเรียนจบได้ไม่นานก็เผยแพร่ผลงานเครื่องจักรทัวริง ช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง จากผลงานของทัวริงที่ปรากฎทำให้รัฐบาลเรียกตัวเขาไปร่วมงานชิ้นสำคัญ ในตอนนั้น รัฐบาลอังกฤษรวบรวมนักคณิตศาสตร์ แชมเปียนหมากรุก นักภาษา นักวิเคราะห์อักขระอียิปต์ และใครก็ตามที่มีผลงานเกี่ยวกับหลักตรรกศาสตร์ เพื่อพยายามถอดรหัสของเครื่องเอนิกมา (Enigma) ซึ่งเป็นรหัสลับที่นาซีใช้ติดต่อสื่อสารในช่วงสงคราม งานนี้เป็นความลับระดับชาติ หลังจากทัวริงเสียชีวิตไปแล้ว สาธารณชนจึงได้รับรู้ว่าทัวริงมีส่วนในการออกแบบเครื่องมือที่ใช้แกะนาซีโค้ดที่ส่งไปที่ U-boats ในแอตแลนติก
เหนือ และมีส่วนช่วยให้แกะรหัสนี้สำเร็จในเวลาต่อมา
        ทัวริงกลับมาที่เคมบริดจ์หลังสงครามเลิก และยังสนใจเรื่องเครื่องจักรกลที่สามารถคิดเองได้ เขาเสนอความคิดว่าเครื่องกลหนึ่งๆ สามารถจะเรียนรู้และแก้คำสั่งที่แนบมาเองได้ ทัวริงยังคิดค้นการทดสอบแบบทัวริง (Turing test) ที่โด่งดังซึ่งเป็นการวัดว่าเครื่องมือหนึ่งๆ จะมีความฉลาดทัดเทียมมนุษย์ได้หรือไม่ โดยวัดจากการนำคนหนึ่งไปนั่งในห้องปิด และถามคำถามเดียวกันกับคน และกับเครื่อง (แต่มองไม่เห็นว่าใครตอบ) ถ้าผู้ถามไม่สามารถแยกแยะได้ว่าคำตอบใดมาจากเครื่อง คำตอบใดมาจากคน นั่นย่อมแปลว่าเครื่องกลนั้นฉลาดทัดเทียมมนุษย์
       ตัวอย่างของการทดสอบแบบทัวริงที่น่าสนใจอันหนึ่ง คือรางวัล Loebner ที่จัดทุกปี เพื่อแข่งขันหาโปรแกรมสนทนาโต้ตอบกับคนที่มีความสามารถใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด กรรมการสิบคนจากหลากหลายอาชีพพิมพ์โต้ตอบคุยกับอีกฝ่าย ซึ่งกรรมการไม่รู้ว่าอีกฝ่ายนี้เป็นโปรแกรมหรือเป็นคนจริงๆ ถ้ากรรมการแยกแยะไม่ได้ว่ากำลังคุยกับโปรแกรมหรือกับคน แต่จริงๆ แล้วอีกฝ่ายเป็นโปรแกรม ย่อมหมายความว่าโปรแกรมนั้นหลอกคนได้สำเร็จ และมีความฉลาดระดับหนึ่ง โปรแกรมที่ชนะเลิศการแข่งขันในปี 2004 มีชื่อว่าอลิซ (ALICE) ผู้เรียนสามารถลองคุยกับอลิซได้ที่เว็บไซต์ http://alice.pandorabots.com/ ตัวอย่างคำตอบของเธอต่อกรรมการ
       กรรมการ: Do you daydream
       Alice: I have a lot of dreams but I cannot remember them all.
       กรรมการ: Do you speak any Swedish
       Alice: I speak only English right now, but I'd like to learn some other languages. Can you teach me a few phrases in Any Swedish.
       โปรแกรมเหล่านี้ต้องละเอียดขนาดความเร็วของแต่ละตัวอักษรที่ปรากฎ (เพราะต้องทำให้รู้สึกเหมือนคนกำลังพิมพ์ตอบ) ต้องวิจัยกันทีเดียวว่าเวลาที่ใช้การพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวเป็นอย่างไร เช่นการพิมพ์ t นั้นเร็วกว่าการพิมพ์ตัว s และต้องใส่ถ่วงเวลาแค่ไหนระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวจะปรากฎ และบางทีโปรแกรมก็ต้องพิมพ์ผิด เว้นวรรคพลาดบ้าง จะได้แนบเนียน แต่อลิซหลอกกรรมการที่เป็นจิตแพทย์ไม่ค่อยเก่ง เพราะเธอจนปัญญาเอาเดียวกับคำถามเหล่านี้
       กรรมการ: If I see a house
       Alice: Try it.
       กรรมการ: Am I on the inside outside or could it be either

คำถาม

1.บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์คือใคร

   ตอบ  Alan Mathison Turing  อลัน มาธิสัน ทัวริง

2.มีผลงานอะไรบ้าง
  ตอบ  ผลงาน : ทฤษฎีความสามารถคำนวณได้ของคอมพิวเตอร์ (Computability) , การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing test), เครื่องจักรทัวริง (universal Turing machine)
  
3.เกิดและเสียชีวีตวันที่เท่าไรและที่ไหน
  ตอบ เกิด วันที่ 23 มิ.ย. 1912 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ

เสียชีวิต วันที่ 7 มิ.ย. 1954 ที่เมืองวิล์มสโล อังกฤ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น